คำแถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านเนื่องในโอกาสสัปดาห์ฉีกหน้ากากสิทธิมนุษยชนของอเมริกา
คำแถลงการณ์ของกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านเนื่องในโอกาสสัปดาห์ฉีกหน้ากากสิทธิมนุษยชนของอเมริกา
กระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ได้ออกแถลงการณ์ เนื่องในโอกาสสัปดาห์แห่งการเรียกร้องและฉีกหน้ากากสิทธิมนุษยชนของอเมริกา ตั้งแต่ (27 มิถุนายน ถึง 3 กรกฎาคม) ในช่วงสัปดาห์นี้ ในหลายปีก่อน หลังการปฏิวัติอิสลาม ได้เกิดอาชญากรรมทั้งทางตรง และทางอ้อมโดยจอมอหังการโลกที่นำโดยสหรัฐฯ ต่อประเทศอิหร่าน ไม่ว่าจะเป็น แผนลอบสังหารผู้นำสูงสุดที่ล้มเหลวเมื่อวันที่ 6 เดือน ทีร ปี 1981 หรือ เหตุการณ์วันที่ 7 ทีร และ เหตุลอบวางระเบิดในห้องประชุมพรรคสาธารณรัฐอิสลาม เป็นเหตุให้อายาตุ้ลลอฮ เบเฮชตี้ รวมถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงของอิหร่าน 72 คนเสียชีวิต หรือการทิ้งระเบิดเคมีที่ Sardasht หรือการลอบสังหาร อายาตุ้ลลอฮ ศอดูกีย์ อิมามนมาซวันศุกร์ของเมืองยัซด์ และปฏิบัติการก่อการร้ายด้วยการยิงขีปนาวุธใส่เครื่องบินโดยสารอิหร่านแอร์จนกระทั่งเครื่องตกในอ่าวเปอร์เซีย
เนื้อหาคำแถลงการณ์
การปกป้องสิทธิมนุษยชนถือเป็นหนึ่งในคำขวัญและคำกล่าวอ้างที่สำคัญที่สุดของเจ้าหน้าระดับสูงของสหรัฐฯ ในระเบียบสากลมาโดยตลอด
สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านขอเน้นย้ำถึง การกำหนดมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจอยู่ฝ่ายเดียวของสหรัฐฯโดยมีจุดประสงค์เพื่อบังคับให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายของตน ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง
การใช้เศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในกดดันประเทศอิสระทางการเมืองเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการละเมิดสิทธิมนุษยชน และคือการก่อการร้ายทางด้านเศรษฐกิจโดยมีเป้าหมายทางการเมือง และเชื่อว่าปัญหานี้ยังก่อให้เกิดความท้าทายที่ซับซ้อนต่อบรรทัดฐานและกรอบการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน
สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากการใช้สิทธิมนุษยชนเป็นเครื่องมือ และการกำหนดมาตรการคว่ำบาตรโดยบีบบังคับอยู่ฝ่ายเดียวโดยสหรัฐฯ จึงกลายเป็นเครื่องมือในการละเมิดสิทธิทั้งทางด้านธรรมชาติและสิทธิทางกฎหมายต่อชาวอิหร่าน รวมถึง สิทธิในการมีชีวิต สิทธิด้านสุขภาพ สุขอนามัย และความเป็นอยู่ตามสิทธิมาตรฐานการครองชีพ สิทธิในการศึกษา และการเข้าถึงความรู้และเทคโนโลยี สิทธิในการพัฒนา ตลอดจนการละเมิดสิทธิต่อสตรี เด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการอย่างร้ายแรง
การคุกคามต่อความมั่นคงทางอาหาร การไม่ร่วมมือของบริษัทที่จัดหาสินค้าและอุปกรณ์ทางการแพทย์และสุขภาพกับบริษัทอิหร่าน ขัดขวางการซื้อยาสำหรับโรคที่หายากและเฉียบพลัน การห้ามนักวิจัยและแพทย์ชาวอิหร่านในการเข้าถึงทรัพยากรทางการแพทย์ที่มีอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของ National Medical Library (หอสมุดแพทย์แห่งชาติ) โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโคโรนา การคว่ำบาตรในด้านอุตสาหกรรมการบินและชิ้นส่วนของเครื่องบินซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อความปลอดภัยของเครื่องบินโดยสารของอิหร่าน
การขาดการเข้าถึงระบบการเงินระหว่างประเทศ การหยุดชะงักของระบบการชำระเงินและการปฏิเสธของบริษัทต่างประเทศในการรับการค้ำประกันการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ออกโดยธนาคารอิหร่าน แรงกดดันทวีคูณทางเศรษฐกิจต่อสตรีที่ประกอบอาชีพที่มีหน้าที่ดูแลครอบครัว กำลังซื้อของผู้สูงอายุลดลง และปัญหาของผู้พิการทางร่างกายและจิตใจในการเข้าถึงยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เหมาะสม สิ่งเหล่าเป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ของการละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอิหร่านที่ถูกกระทำอันเป็นผลมาจากการคว่ำบาตรฝ่ายเดียวของสหรัฐฯ
นอกจากนี้ ประเทศอิหร่านไม่ใช่ประเทศเดียวที่ได้รับความบอบช้ำจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยสหรัฐอเมริกา ในขณะที่เขาถือว่าประเทศของตนยึดถือในสิทธิมนุษยชน ซึ่ง
- ไม่มีการตรวจสอบ หรือ สอดส่อง การละเมิดสิทธิต่อชนกลุ่มน้อย เช่น ชาวมุสลิมหรือคนผิวสีในสหรัฐอเมริกา และชาวมุสลิมหรือคนผิวสี มักจะถูกรังเกียจ ถูกไล่ล่าโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้สนับสนุนระบอบการปกครองของอิสราเอลที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งได้รับการสนับสนุนทางทรัพย์สินและอื่นๆจากอิสราเอล และคือผู้ที่ปูทางการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องในปาเลสไตน์
- ชาวเยเมนผู้ถูกกดขี่และไร้ซึ่งการป้องกัน ถูกโจมตีทุกวันโดยอาวุธของอเมริกา ที่ขายให้กับประเทศผู้รุกรานในการทำสงคราม โดยมีวัตถุประสงค์ทางการเงินและการค้า ในขณะเดียวกันก็คัดค้านการยุติวิกฤตในประเทศนี้
- สหรัฐฯ มักจะใช้สองแนวคิด ทั้งเรื่องสิทธิมนุษยชนหรือการต่อต้านการก่อการร้ายเป็นเครื่องมือ ในการกำจัดคนสำคัญ หรือวีรบุรุษที่ยิ่งใหญ่ที่ต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย ตัวอย่างล่าสุด คือการลอบสังหาร นายพลกอเซ็ม สุไลมานี อย่างขี้ขลาดโดยรัฐบาลสหรัฐฯ ในปี 2020
ตามที่ผู้รายงานของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเน้นย้ำว่า การลอบสังหารนายพลกอเซ็ม สุไลมานี ถือเป็นการละเมิดสิทธิตามอำเภอใจจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต และขัดต่อบทบัญญัติกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมืองสิทธิทางการเมือง และปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน
ตามสิ่งที่ถูกกล่าว และเหตุผลต่างๆมากมายที่เพิ่มทุกวันนั้น สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านขอประณามอีกครั้งต่อแนวทางทางการเมืองเพื่อสิทธิมนุษยชน และการใช้สิทธิมนุษยชนแบบสองมาตรฐานโดยสหรัฐอเมริกา และถือว่ารัฐบาลนี้ไม่ใช่ผู้สนับสนุน แต่เป็นผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน ขอเน้นย้ำถึงบทบาทขององค์กรทั้งหลายในด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศต่อการต่อสู้กับการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานต่อประเทศเอกราชทั้งหลายอย่างชัดเจน