8 July 2024
۱۴۰۲/۰۹/۰۶- ۰۸:۳۸ - مشاهده: ۲۴۱

การจัดพิธีรำลึกเชิดชูเกียรติชาวอิหร่านที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

การจัดพิธีรำลึกเชิดชูเกียรติชาวอิหร่านที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย

            พิธีรำลึกถึงท่านเฉกอะห์หมัด กุมมี บุคคลชาวอิหร่านที่สำคัญและมีอิทธิพลมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย ถูกจัดขึ้นที่เมืองพระนครศรีอยุธยา โดยมี ฯพณฯ ไซยิดเรซา โนบัคติ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน เข้าร่วมงาน

            ผู้เข้าร่วมพิธีรำลึกดังกล่าวประกอบไปด้วย ชาวไทยผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากท่านเฉกอะห์หมัด, ตัวแทนจากญามิอะตุ้ลมุศฏอฟา และที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรมของสถานเอกอัครราชทูตอิหร่าน-กรุงเทพฯ เข้าร่วม โดยเริ่มต้นพิธีด้วยการอันเชิญโองการจากคัมภีร์อัลกุรอานและมีการพวงหรีดที่สถานที่ผังศพของท่านเฉกอะห์หมัด

                ในปี 1605 ท่านเฉกอะห์หมัด เดินทางยังกรุงศรีอยุธา หลังจากนั้นท่านก็สามารถกลายเป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่ระดับสูงในราชสำนักของพระมหากษัตริย์ เนื่องจากการบริหารจัดการและไหวพริบของท่าน และได้เข้ารับราชการที่กรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของพระมหากษัตริย์ถึง 6 พระองค์ นับตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และเนื่องจากท่านได้รับความไว้วางใจเป็นอย่างมาก จึงได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ระดับสูงที่สำคัญ รวมทั้งตำแหน่งที่ปรึกษาส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์อีกด้วย

                ท่านเฉกอะห์หมัด ได้รับการแต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี (ชัยคุลอิสลาม) คนแรกของราชอาณาจักรไทย โดยมีหน้าที่ในการเป็นผู้นำชาวมุสลิมและดูแลกิจการของชาวมุสลิมในประเทศ

                ในสมัยของท่านเฉกอะห์หมัด เหล่าข้าราชบริพารและขนบธรรมเนียมของพวกเขาได้รับอิทธิพลจากชาวอิหร่าน พระมหากษัตริย์แห่งสยามก็ทรงรับเอาอิทธิพลจากวัฒนธรรมอิหร่านในเรื่องการแต่งกาย, การรับประทานอาหาร และรูปแบบสถาปัตยกรรม และชาวอิหร่านได้เข้าเฝ้าพระมหากษัตริย์อยู่เป็นประจำ

                ท่านเฉกอะห์หมัด สมรสกับสตรีคนหนึ่งในราชวงศ์อยุธยา และผลของการแต่งงานครั้งนี้ ท่านมีทายาท คือ ลูกชายสองคนและลูกสาวหนึ่งคน ซึ่งในปัจจุบันลูกหลานของท่านนั้นยังคงเป็นครอบครัวที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักในประเทศไทย อาทิเช่น คือ ตระกูลอะห์หมัดจุฬา และบุนนาค เป็นต้น

                ท่านเฉกอะห์หมัด ถึงแก่อนิจกรรมในปี 1631 สิริรวมอายุ 88 ปี และหลุมฝังศพของท่าน ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมอิสลาม-อิหร่าน ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา

                การสร้างภาพยนตร์สารคดีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวของบุรุษชาวอิหร่านผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ เมื่อกว่าสี่ร้อยปีที่แล้วท่านได้เดินทางเข้าสู่ราชอาณาจักรไทยและมีบทบาทสำคัญในราชสำนักของพระมหากษัตริย์ไทย นับเป็นสิ่งสำคัญมากในการรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่มีร่วมกันของอิหร่านและไทย และยิ่งทำให้ผู้คนของทั้งสองประเทศใกล้ชิดกันและรู้จักกันมากขึ้น

متن دیدگاه
نظرات کاربران
تاکنون نظری ثبت نشده است

Your Rate